เจาะลึกเงื่อนไขการประกอบอาชีพในญี่ปุ่น : ทักษะ “ผู้ดูแล” (介護) คืออะไร?

หากต้องการได้สถานภาพการพำนักที่สามารถทำงานในญี่ปุ่นได้อย่างถาวร อาชีพผู้ดูแลก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย สำหรับประเทศญี่ปุ่นที่กำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ จำนวนของผู้ที่ต้องได้รับการดูแลก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ค่อนข้างจะขาดแคลนผู้ดูแล หนึ่งในมาตรการรับมือที่หลายๆ คนคาดหวังไว้ก็คือ การรับแรงงานจากต่างประเทศนั่นเอง ในบทความนี้ เราจะไปทำความรู้จักกับบททดสอบจำเป็นในการเป็นผู้ดูแลในญี่ปุ่น รวมถึงสถานภาพการพำนักที่อาชีพนี้จะได้รับกัน
Oyraa

ตลาดอาชีพผู้ดูแลในญี่ปุ่น

ผลสำรวจจากปี 2018 ทำให้เราทราบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีปัญหาสังคมผู้สูงอายุเป็นอันดับ 1 ของโลก ในขณะที่จำนวนผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยงและต้องได้รับการดูแลมีเพิ่มมากขึ้น คนหนุ่มสาวที่ต้องแบกรับภาระการดูแลกลับขาดแคลนจนน่าเป็นห่วง สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีการก่อตั้งสถานภาพการพำนัก “ทักษะพิเศษ (特定技能)” ขึ้นในเดือนเมษายน 2019 โดยจะอนุญาตให้ชาวต่างชาติที่พร้อมทำงานและมีทักษะหรือการศึกษาเฉพาะทางตามที่กำหนดไว้สามารถเข้ามาทำงานในญี่ปุ่นได้นั่นเอง

4 ระบบสำหรับการทำงานในฐานะผู้ดูแลที่ได้รับการรับรองในญี่ปุ่น

ในปัจจุบันมีระบบอยู่ 4 ประเภทที่จะช่วยให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานในฐานะผู้ดูแลที่ได้รับการรับรอง (介護福祉士) ได้ในญี่ปุ่น ได้แก่ EPA (ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ), สถานภาพการพำนัก “การดูแล”, การฝึกฝนทักษะ, และ ทักษะพิเศษประเภทที่ 1 “การดูแล” มาดูกันเลยว่าแต่ละระบบมีความแตกต่างอย่างไรบ้าง?

① EPA

เปิดรับคนจาก 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศคู่สัญญา มีเงื่อนไขว่าต้องมีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับงานดูแลในประเทศของตนเองในระดับหนึ่ง จะสามารถเข้าญี่ปุ่นได้ก็ต่อเมื่อมีระดับ JLPT สูงกว่า N5 สำหรับประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และสูงกว่า N3 สำหรับประเทศเวียดนาม เมื่อมาถึงญี่ปุ่นก็จะได้รับการฝึกฝนภาษาญี่ปุ่นและทักษะเกี่ยวกับการดูแลเพิ่มเติมแล้วจึงได้รับการว่าจ้างให้ทำงานในสถานดูแล เมื่ออยู่ญี่ปุ่นครบ 4 ปีก็จะสามารถสอบขอการรับรองในฐานะผู้ดูแลได้ หากผ่านก็จะสามารถทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้อย่างถาวรโดยต่อสถานภาพการพำนักใหม่ได้เรื่อยๆ แต่หากไม่ผ่านก็จำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศ

② สถานภาพการพำนัก “การดูแล” (在留資格「介護」)

นักเรียนชาวต่างชาติที่เข้าศึกษาในโรงเรียนฝึกฝนผู้ดูแลของญี่ปุ่น เมื่อเรียนจบและสอบสถานะผู้ดูแลที่ผ่านการรับรองก็จะสามารถขอรับสถานภาพการพำนัก “การดูแล (介護)” ได้ โดยหากทำการต่อใหม่เรื่อยๆ ก็จะสามารถทำงานในญี่ปุ่นได้อย่างถาวร นอกจากนี้ บางโรงเรียนอาจจ้างนักเรียนให้ทำงานพาร์ทไทม์ตั้งแต่ตอนที่ศึกษาอยู่เลยก็ได้

* การเข้าโรงเรียนฝึกฝนผู้ดูแลจำเป็นจะต้องมี JLPT อย่างน้อยระดับ N2 ขึ้นไป

③ การฝึกฝนทักษะ (技能実習)

หลังเดินทางเข้าประเทศ ผู้ฝึกฝนจะได้รับการอบรมสั้นๆ เกี่ยวกับการดูแลและภาษาญี่ปุ่นก่อนจะได้รับการว่าจ้างให้ทำงานในสถานดูแล แม้ว่าจุดประสงค์ของระบบนี้ คือ การฝึกทักษะการดูแล แต่เนื่องจากเป็นการเรียนรู้จากการทำงานจริงจึงส่งผลให้ได้ทำสัญญาว่าจ้างกับสถานดูแลไปพร้อมๆ กันด้วย

ระบบนี้จะมีการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติหลังเข้าญี่ปุ่น 1 ปี และสอบภาคปฏิบัติอีกครั้งหลังจากนั้นอีก 2 หรือ 3 ปี หากสอบผ่านก็จะสามารถขอเข้ารับการฝึกฝนต่อได้อีก 2 ปี การฝึกฝนจะสิ้นสุดลงเมื่อทำการสอบภาคปฏิบัติในปีที่ 5 และจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศ ในกรณีที่ไม่ต้องการกลับ ก็สามารถสอบขอการรับรองสถานะผู้ดูแลในช่วงฝึกฝนทักษะเพื่อเปลี่ยนสถานภาพการพำนักเป็น “การดูแล” ได้ ก็จะสามารถทำงานอยู่ญี่ปุ่นได้อย่างถาวร นอกจากนี้ ผู้ฝึกฝนทักษะที่ผ่านการฝึกฝนมาจนถึงปีที่ 3 ก็จะได้รับยกเว้นการสอบที่จำเป็นต่อ “ทักษะพิเศษประเภทที่ 1” ที่เราจะอธิบายถึงในข้อต่อไป

④ ทักษะพิเศษประเภทที่ 1 “การดูแล” (特定技能1号「介護」)

เป็นระบบที่เพิ่งประกาศใช้ใหม่ในเดือนเมษายนปี 2019 หลังจากผ่านการสอบทักษะพื้นฐานและภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานแล้ว ก็จะสามารถเข้าพำนักในญี่ปุ่นและทำงานในสถานดูแลได้เป็นระยะเวลา 5 ปี หากในระยะเวลานี้สอบขอการรับรองสถานะผู้ดูแลผ่านและเปลี่ยนสถานภาพการพำนักเป็น “การดูแล” ก็จะสามารถทำงานอยู่ญี่ปุ่นได้อย่างถาวร

การสอบที่จำเป็นต่อทักษะพิเศษประเภทที่ 1 “การดูแล”

ในการเดินทางเข้าญี่ปุ่นด้วยสถานะทักษะพิเศษประเภทที่ 1 “การดูแล” ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่นั้น จำเป็นต้องผ่านการทดสอบ 3 อย่าง ได้แก่ ① การสอบประเมินทักษะการดูแล การสอบภาษาญี่ปุ่น (JFT-Basic หรือ JLPT ระดับ N4) และ ③ การสอบประเมินการดูแลเป็นภาษาญี่ปุ่น

มาดูกันว่าการสอบแต่ละอย่างมีรายละเอียดคร่าวๆ อย่างไรบ้าง

① การสอบประเมินทักษะการดูแล (介護技能評価試験)

● จำนวนคำถาม: 45 ข้อ
● เวลาสอบ: 60 นาที
● ค่าสอบ: ประมาณ 1,000 เยน
● เนื้อหาข้อสอบ
 -ข้อสอบภาคทฤษฎี: 40 ข้อ
  1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแล (10 ข้อ)
 2. กลไกของจิตใจและร่างกาย (6 ข้อ)
 3. ทักษะการสื่อสาร (4 ข้อ)
 4. ทักษะการช่วยเหลือการใช้ชีวิต (20 ข้อ)
 -ข้อสอบภาคปฏิบัติ: 5 ข้อ
・สอบในรูปแบบต่างๆ ตามหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น สอบการตัดสินใจ
 ▶ เกณฑ์การออกข้อสอบ

● เว็บไซต์: https://www.mhlw.go.jp/stf/newpage_000117702.html

② การสอบภาษาญี่ปุ่น (JFT-Basic / 国際交流基金日本語基礎テスト)

● จำนวนคำถาม: 60 ข้อ
● เวลาสอบ: 60 นาที
แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ “ตัวอักษรและคำศัพท์” “บทสนทนาและสำนวน” “การฟัง” และ “การอ่าน”
● ค่าสอบ:
 78,000 ทูกรีกมองโกล, 400,000 รูปียะฮ์อินโดนีเซีย, 22 ดอลลาร์กัมพูชา, 1,000 บาทไทย
 1,500 เปโซฟิลิปปินส์, 2,500 รูปีเนปาล, เวียดนามและพม่ายังไม่มีการประกาศรายละเอียด

● ตัวอย่างข้อสอบ: https://www.jpf.go.jp/jft-basic/sample/q01.html
● เว็บไซต์: https://www.jpf.go.jp/jft-basic/index.html
 ภาษาอังกฤษ: https://www.jpf.go.jp/jft-basic/e/index.html
 ภาษาอินโดนีเซีย: https://www.jpf.or.id/id/jftb/
 ภาษาไทย: https://jfphn.org/japanese-language/

การสอบภาษาญี่ปุ่น (JLPT N4 / 日本語能力試験N4)

● เวลาสอบ: ความรู้ภาษา (ตัวอักษรและคำศัพท์) 30 นาที, ความรู้ภาษา (ไวยากรณ์) และการอ่าน 60 นาที, การฟัง 35 นาที
● ค่าสอบ: 5,500 เยน (รวมภาษี)

● ตัวอย่างข้อสอบ: https://www.jlpt.jp/samples/pdf/N4-mondai.pdf

● เว็บไซต์: https://www.jlpt.jp/index.html
 ภาษาอังกฤษ: https://www.jlpt.jp/e/index.html
 ภาษาจีนตัวย่อ: https://www.jlpt.jp/cn/index.html
 ภาษาจีนตัวเต็ม: https://www.jlpt.jp/tw/index.html

การสอบประเมินการดูแลเป็นภาษาญี่ปุ่น (介護日本語評価試験)

● จำนวนคำถาม: 15 ข้อ 
● เวลาสอบ: 30 นาที
● ค่าสอบ: ประมาณ 1,000 เยน
● เนื้อหาข้อสอบ:
・คำศัพท์เกี่ยวกับการดูแล (5 ข้อ)
・บทสนทนาและคำกล่าวเกี่ยวกับการดูแล (5 ข้อ)
・การเขียนเกี่ยวกับการดูแล (5 ข้อ)

เว็บไซต์: https://www.mhlw.go.jp/stf/newpage_000117702.html

คู่มือเตรียมสอบ ① และ ③

ภาษาอังกฤษ: http://www.jaccw.or.jp/pdf/home/foreign/2020/kaigono_tokutei_ginou_en_20200324.pdf

ภาษาจีน: https://www.mhlw.go.jp/content/12000000/000619539.pdf

ขั้นตอนสมัครสอบ

กรณีของ ① และ ③

วิธีสมัครสอบ

1. สมัครไอดี Prometric
http://ac.prometric-jp.com/testlist/nc/nursingcare_japan.html
※ ไอดี Prometric เป็นไอดีที่จำเป็นต่อการเข้าสอบรับสถานะที่จัดโดยบริษัท Prometric

2. ล็อคอินและจองการสอบ
https://j6.prometric-jp.com/Reserve/Login?CN=JH&LC=EN

เลือกวันและสถานที่สอบ
ในกรณีที่สอบในญี่ปุ่นต้องใส่รูปถ่ายใบหน้าตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. เลือกบัตรเครดิตหรือบัตรกำนัล และจ่ายเงินค่าสอบ

4. พิมพ์ใบเสร็จแจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์ และนำติดตัวไปในวันสอบ

ปฏิทินวันสอบ (ต่างประเทศ)
http://ac.prometric-jp.com/shared/schedu/Schedule_JH.pdf

ปฏิทินวันสอบ (ในญี่ปุ่น)
http://ac.prometric-jp.com/common_contents/test-dates.html

กรณีของ ②

วิธีสมัครสอบ

1. สมัครไอดี Prometric (http://ac.prometric-jp.com/testlist/jfe/index.html) หากต้องการจ่ายค่าสอบด้วยเงินสด ให้เดินทางไปที่สนามสอบและซื้อบัตรกำนัล

2. ตรวจสอบกฎการสอบ ใส่ข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม เลือกวันและสนามสอบ

3. หากใช้บัตรเครดิตให้กรอกข้อมูลบัตรและจ่ายค่าสอบ ส่วนบัตรกำนัลให้ใส่รหัสและวันหมดอายุของบัตร

ปฏิทินวันสอบ (อ้างอิงจากหน้าเว็บไซต์ของแต่ละประเทศ)
http://ac.prometric-jp.com/testlist/jfe/index.html

สรุปคือ โดยหลักแล้วมีอยู่ 4 ช่องทางที่เราจะสามารถทำงานเป็นผู้ดูแลในญี่ปุ่นได้ แต่ละคนก็อาจจะมีช่องทางที่เหมาะกับตนเองแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปัจจุบันอยู่ญี่ปุ่นหรือเปล่า ภาษาญี่ปุ่นอยู่ในระดับไหน และเคยมีประสบการณ์งานดูแลหรือไม่? เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณพบกับเส้นทางสู่ผู้ดูแลที่เป็นของคุณเองได้ ในสังคมผู้สูงอายุเช่นนี้ ชาวต่างชาติที่มีทั้งทักษะการดูแลและทักษะภาษาญี่ปุ่นนั้นถือว่าเป็นแรงงานที่มีความสำคัญมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลยทีเดียว

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊กได้เลย !

เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่

Oyraa
0 Shares: